ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fi:Brittiläinen Antarktiksen alue
บรรทัด 65: บรรทัด 65:
[[es:Territorio Antártico Británico]]
[[es:Territorio Antártico Británico]]
[[eu:Britainiar Lurralde Antartikoa]]
[[eu:Britainiar Lurralde Antartikoa]]
[[fi:Brittiläinen Antarktiksen alue]]
[[fr:Territoire antarctique britannique]]
[[fr:Territoire antarctique britannique]]
[[gl:Territorio Antártico Británico]]
[[gl:Territorio Antártico Británico]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:12, 9 มีนาคม 2554

British Antarctic Territory (อังกฤษ)
ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร
ธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ตราราชการของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ธงชาติ ตราราชการ
คำขวัญ : Research and Discovery
("สำรวจและค้นพบ")
เพลงชาติ: ก็อดเซฟเดอะควีน
แผนที่ของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
สถานะ อาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
ภาษาทางการ อังกฤษ (โดยพฤตินัย)
ผู้ตรวจการ ลีจ์ เทอร์เนอร์
ผู้บริหารดินแดน ไมเคิล ริชาร์ดสัน
พื้นที่ 1,709,400 ตร.กม.
ประชากร ประมาณ 200
อัตราแลกเปลี่ยน ปอนด์สเตอร์ลิง

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา)

ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ