ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือปลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้าย[[แมวดาว]] ([["P. bengalensis"]]) ซึ่งอยู่ใน[[Prionailurus|สกุลเดียวกัน]]มาก
ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้าย[[แมวดาว]] ([["P. bengalensis"]]) ซึ่งอยู่ใน[[Prionailurus|สกุลเดียวกัน]]มาก


มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มี[[อากาศหนาวเย็น]] มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาป ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของ[[อินเดีย]], [[บังกลาเทศ]], [[เนปาล]], [[ภูฏาน]], [[จีน]], [[โซเวียต]], [[รัสเซีย]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[เวียดนาม]], [[กัมพูชา]], [[มาเลเซีย]], [[อินโดนีเซีย]], [[เกาะสุมาตรา]] และ[[เกาะชวา]]
มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มี[[อากาศหนาวเย็น]] มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของ[[อินเดีย]], [[บังกลาเทศ]], [[เนปาล]], [[ภูฏาน]], [[จีน]], [[โซเวียต]], [[รัสเซีย]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[เวียดนาม]], [[กัมพูชา]], [[มาเลเซีย]], [[อินโดนีเซีย]], [[เกาะสุมาตรา]] และ[[เกาะชวา]]


เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตาม[[ป่าเบญจพรรณ]], [[ป่าพรุ]]หรือ[[ป่าละเมาะ]] และ[[ป่าชายเลน]] เพราะอาหารหลัก คือ [[ปลา]] จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือ[[สัตว์น้ำ]] เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และ[[สัตว์บก]]ขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และ[[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]] เช่น งู, นาก, ตุ่นปากเป็ด, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีน[[ต้นไม้]]ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60-65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม-เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว
เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตาม[[ป่าเบญจพรรณ]], [[ป่าพรุ]]หรือ[[ป่าละเมาะ]] และ[[ป่าชายเลน]] เพราะอาหารหลัก คือ [[ปลา]] จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือ[[สัตว์น้ำ]] เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และ[[สัตว์บก]]ขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และ[[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]] เช่น งู, นาก, ตุ่น, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีน[[ต้นไม้]]ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60-65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม-เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว
1-15 วันแรกตายังปิดอยู่
1-15 วันแรกตายังปิดอยู่
55-60 วัน กินปลาหรือ[[สัตว์น้ำ]]และ[[สัตว์บก]]ขนาดเล็ก
55-60 วัน กินปลาหรือ[[สัตว์น้ำ]]และ[[สัตว์บก]]ขนาดเล็ก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:00, 3 มิถุนายน 2559

เสือปลา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Prionailurus
สปีชีส์: P.  viverrinus
ชื่อทวินาม
"Prionailurus viverrinus"
(Bennett, 1833)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2]
  • Felis viverrinaBennett, 1833

เสือปลา หรือ เสือแผ้ว (ชื่อเรียกเสือปลาในตัวที่มีขนาดใหญ่ [3]; อังกฤษ: Fishing cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prionailurus viverrinus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก จัดเป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นและหนา ขนสีเทาอมน้ำตาล หรือขนสีเทาอมมะกอก มีจุดสีน้ำตาลเข้มแกมดำเรียงเป็นลายแนวขนานไปกับความยาวลำตัว โดยขนแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ซึ่งพัฒนามาเพื่อหากินกับน้ำโดยเฉพาะ ขนชั้นในสั้นเกรียนและแน่นมากจนน้ำซึมผ่านไม่ได้ ทำให้ตัวของเสือปลาแห้ง และช่วยรักษาความอบอุ่นเอาไว้ในขณะลงจับปลาในน้ำ ขนชั้นในสั้นกว่าขนชั้นนอก มีความหนาและยาวกว่าขนชั้นใน ขนชั้นนอกเป็นชั้นที่มีลวดลายและหนามันวาว[4] หางยาวเพียงหนึ่งในสามของลำตัว มีพังผืดบาง ๆ ยึดระหว่างนิ้วเท้าหน้า ยังไม่พัฒนา เก็บเล็บไม่ได้เหมือนเสือชนิดอื่น ๆ เสือปลามีหัวขนาดใหญ่ หูสั้นมีกรอบสีดำ ดวงตาสีเขียว มีความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัว 70-90 เซนติเมตร หางสั้น 20-30 เซนติเมตร น้ำหนัก 7-11 กิโลกรัม ขนาดของเสือปลาอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารซึ่งก็คือความสมบูรณ์ของป่า ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายแมวดาว ("P. bengalensis") ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก

มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ภูฏาน, จีน, โซเวียต, รัสเซีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา

เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตามป่าเบญจพรรณ, ป่าพรุหรือป่าละเมาะ และป่าชายเลน เพราะอาหารหลัก คือ ปลา จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือสัตว์น้ำ เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และสัตว์บกขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น งู, นาก, ตุ่น, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีนต้นไม้ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60-65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม-เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว 1-15 วันแรกตายังปิดอยู่ 55-60 วัน กินปลาหรือสัตว์น้ำและสัตว์บกขนาดเล็ก 120-180 วัน ยังไม่หย่านม บางครั้ง (บางปี) ฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งฝนขาดช่วงตกเป็นระยะเวลานาน น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด มีผลทำให้ปลาและสัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย อาหารของเสือปลาหมดไป จึงทำให้ต้องออกจากป่ามาหาอาหารกินในเขตชุมชนมนุษย์ และอาศัยอยู่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ เช่น ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวัดแห่งหนึ่งชื่อ "วัดกระทุ่มเสือปลา" แสดงถึงในอดีตเคยมีเสือปลาชุกชุม[5]

เสือปลาใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 60-65 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว เมื่ออายุได้ 10-12 เดือน แม่จะแยกจากไป เพื่อฝึกให้หากินเองลำพังตามธรรมชาติ การเลี้ยงเพื่อให้เชื่องในสถานที่เลี้ยง ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเสือปลาเป็นสัตว์ป่าที่มีอุปนิสัยดุมาก [4]

อ้างอิง

  1. Cat Specialist Group (2002). Prionailurus viverrinus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 10 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. ความหมายของคำว่า "แผ้ว" จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. 4.0 4.1 "'เสือปลา'...สัตว์ป่าลึกลับ คล่องแคล่วทั้งในน้ำ-บนบก". คมชัดลึก. 16 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
  5. "วัดกระทุ่มเสือปลา". foodtravel.tv. 26 December 2010. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Prionailurus viverrinus ที่วิกิสปีชีส์