ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศแอฟริกาใต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
| image_flag = Flag of South Africa.svg
| image_flag = Flag of South Africa.svg
| image_coat = Coat of arms of South Africa (heraldic).svg
| image_coat = Coat of arms of South Africa (heraldic).svg
| image_map = {{Switcher|[[File:South Africa (orthographic projection).svg|frameless]]|แสดงลูกโลก|[[File:Location South Africa AU Africa.svg|upright=1.15|frameless]]|แสดงแผนที่แอฟริกา|default=1}}
| image_map = {{Switcher|[[ไฟล์:South Africa (orthographic projection).svg|frameless]]|แสดงลูกโลก|[[ไฟล์:Location South Africa AU Africa.svg|upright=1.15|frameless]]|แสดงแผนที่แอฟริกา|default=1}}
| national_motto = !ke e: ǀxarra ǁke ([[ภาษาซคัม]]) <br />"เอกภาพในความหลากหลาย"
| national_motto = !ke e: ǀxarra ǁke ([[ภาษาซคัม]]) <br />"เอกภาพในความหลากหลาย"
| national_anthem = [[เพลงชาติแอฟริกาใต้]]<center>[[ไฟล์:South African national anthem.oga]]</center>
| national_anthem = [[เพลงชาติแอฟริกาใต้]]<center>[[ไฟล์:South African national anthem.oga]]</center>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:30, 11 ธันวาคม 2564

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

Republic of South Africa  (อังกฤษ)
ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศในอีก 10 ภาษา[1]
คำขวัญ!ke e: ǀxarra ǁke (ภาษาซคัม)
"เอกภาพในความหลากหลาย"
เมืองหลวงพริทอเรีย (ฝ่ายบริหาร)
เคปทาวน์ (ฝ่ายนิติบัญญัติ)
บลูมฟอนเทน (ฝ่ายตุลาการ)
เมืองใหญ่สุดโจฮันเนสเบิร์ก
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
ภาษาอาฟรีกานส์ ภาษาซูลู ภาษาโชซา ภาษาสวาตี ภาษาเอ็นเดเบลี ภาษาซูทูใต้ ภาษาซูทูเหนือ ภาษาซองกา ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร
ไซริล รามาโฟซา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2453
พื้นที่
• รวม
1,219,912 ตารางกิโลเมตร (471,011 ตารางไมล์) (24)
เล็กน้อย
ประชากร
• 2548 ประมาณ
44,344,136 คน (อันดับที่ 26)
36 ต่อตารางกิโลเมตร (93.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 136)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 757.334 พันล้าน
$ 13,403
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 344.064 พันล้าน
$ 6,089
จีนี (2557)positive decrease 63.0[2]
สูงมาก
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.709[3]
สูง · อันดับที่ 114
สกุลเงินแรนด์ (ZAR)
เขตเวลาUTC+2
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์27
โดเมนบนสุด.za

แอฟริกาใต้[a] หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้[b][c] เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา โดยมีประชากรอยู่ 60 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 23 ของโลก และครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,221,037 ตารางกิโลเมตร (471,445 ตารางไมล์) ประเทศแอฟริกามีเมืองหลวงอยู่ 3 แห่ง คือ พริทอเรีย (ฝ่ายบริหาร), บลูมฟอนเทน (ฝ่ายตุลาการ) และเคปทาวน์ (ฝ่ายนิติบัญญัติ) โดยมีโจฮันเนสเบิร์ก เป็นเมืองใหญ่ที่สุด ประชากรของแอฟริกาใต้ร้อยละ 80 มีเชื้อสายเป็นชาวแอฟริกาผิวดำ[4] ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่พูดภาษาของแอฟริกาที่แตกต่างกันออกไป[5] ส่วนประชากรที่เหลือประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ยุโรป (ชาวแอฟริกาใต้ผิวขาว ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา) เอเชีย (ชาวแอฟริกาเชื้อสายอินเดีย และจีน) และกลุ่มหลายชาติพันธุ์ (ชาวแอฟริกาใต้ผิวสี)

ภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์

อาณานิคมดัตช์

การรุกรานของบริเตน

สงครามบูร์

จุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกสีผิว

"สำหรับใช้โดยคนผิวขาว" – ป้ายถือผิวซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอาฟรีกานส์

ใน ค.ศ. 1948 พรรคเนชั่นแนล (National Party) ชนะการเลือกตั้ง และได้เริ่มทำการส่งเสริมนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งริเริมมาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์และบริเตน โดยยึดเอาพระราชบัญญัติอินเดียน ของแคนาดาเป็นแบบอย่าง[6] รัฐบาลชาตินิยม ได้จำแนกประชาชนออกเป็นสามเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติทั้งสามจะมีสิทธิและข้อจำกัดต่างกันออกไป ชนกลุ่มน้อยผิวขาว (น้อยกว่า 20% จากประชากรทั้งหมด)[7] ควบคุมประชากรผิวสีซึ่งมีจำนวนมากกว่า การแบ่งแยกสีผิวอย่างถูกต้องตามกฎหมายนี้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การถือผิว ในขณะชาวผิวขาวมีมาตราฐานการครองชีพ สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา สามารถเทียบได้กับชาติตะวันตกโลกที่หนึ่ง ประชากรผิวสีซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศกลับด้อยกว่าในทุกทาง รวมไปถึงรายได้ การศึกษา การเคหะ และอายุคาดเฉลี่ย กฎบัตรเสรีภาพ ซึ่งได้ถูกรับเอามาใช้โดยพันธมิตรคองเกรส ค.ศ. 1955 เรียกร้องถึงสังคมที่ไร้การแบ่งแยกเชื้อชาติ และยุติการเลือกปฏิบัติ

การเมืองการปกครอง

บริหาร

นิติบัญญัติ

ตุลาการ

กองทัพ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์แอฟริกาใต้ – ไทย
Map indicating location of แอฟริกาใต้ and ไทย

แอฟริกาใต้

ไทย

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 แอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ และมีเขตอาณาทางการกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[8] และประเทศแอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีความสำคัญที่สุดประเทศหนึ่งสำหรับไทยในทวีปแอฟริกา โดยเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

จุดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นเมื่ออดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา เดินทางเยือนประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2539 ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงถึงจุดสูงสุดของไมตรีจิตรและมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประชาชนของสองประเทศ[9]

แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน

จากการสำรวจของบริษัทนำเที่ยวในแอฟริกาใต้ ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นอันดับ 2 ของชาวแอฟริกาใต้ รองจากประเทศมอริเชียส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวแอฟริกาใต้เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 102,713 คน ซึ่งแอฟริกาใต้ถือเป็นตลาดการท่องเที่ยวของไทยที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

9 จังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provines-provinsie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด ได้แก่

จังหวัด เมืองหลวง เมืองใหญ่สุด พื้นที่[11] ประชากร [12]
จังหวัดอีสเทิร์นเคป บิโช พอร์ตเอลิซาเบท 168,966 6,829,958
จังหวัดฟรีสเตต บลูมฟอนเทน บลูมฟอนเทน 129,825 2,759,644
จังหวัดเคาเต็ง โจฮันเนสเบิร์ก โจฮันเนสเบิร์ก 18,178 11,328,203
จังหวัดควาซูลู-นาตัล ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์ก เดอร์บัน 94,361 10,819,130
จังหวัดลิมโปโป โพโลเควน โพโลเควน 125,754 5,554,657
จังหวัดพูมาลังกา เนลสไปรต์ เนลสไปรต์ 76,495 3,657,181
จังหวัดนอร์ทเวสต์ มาเฮเคง รุสเทนเบิร์ก 104,882 3,253,390
จังหวัดนอร์เทิร์นเคป คิมเบอร์เลย์ คิมเบอร์เลย์ 372,889 1,096,731
จังหวัดเวสเทิร์นเคป เคปทาวน์ เคปทาวน์ 129,462 5,287,863

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

การศึกษา

ปัญหาด้านการศึกษาของชาวแอฟริกาใต้ ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะหากชาวแอฟริกาใต้ได้รับการศึกษาที่ดีแน่นอนว่าย่อมจะได้รับการพัฒนาประชากร เมื่อคนได้รับความรู้ ก็สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้นี้ไปปรับใช้เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งการนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวแอฟริกาใต้ต้องการมากไม่แพ้ในสิ่งอื่นใดนั่นก็คือการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาจะถูกจำกัดไว้แค่คนที่มีฐานะเท่านั้น ส่วนคนจนแทบจะไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาที่น้อยมาก

สาธารณสุข

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

ชาวผิวขาว เป็นชาวยุโรป ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์, ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเรียกว่าชาวอาฟรีกาเนอร์ ชาวผิวสี เป็นชาวเลือดผสมระหว่างชาวอาฟรีกาเนอร์, ชาวพื้นเมือง, และชาวมลายูที่อพยพเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเวสเทิร์นเคป และชาวพื้นเมืองเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เช่น ชาวซูลู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดียที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในจังหวัดควาซูลู-นาตัล อีกด้วย

ศาสนา

คริสต์ร้อยละ 79.77% ไม่มีศาสนา 15.1% อิสลาม 1.46% พราหมณ์-ฮินดู 1.25% พุทธ 1.15%และอื่นๆอีก 1.42%

ภาษา

ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

กีฬา

ฟุตบอล

ฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa national football team) หรือ บาฟานา บาฟานา (Bafana Bafana มีความหมายว่าเด็กชาย) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแอฟริกาใต้ (SAFA) ทีมกลับมาเล่นระดับโลกในปี 1992 หลังจากหลายปีที่ถูกฟีฟ่าแบนจากนโยบายการแบ่งแยกสีผิว และในปี 2010 แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกาที่เป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 เดือนมิถุนายน ซิฟิเว่ ชาบาลาล่ายังเป็นคนแรกที่ทำประตูให้กับทีมชาติแอฟริกาใต้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ทีมชาติแอฟริกาใต้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ในปี 1996 ที่ประเทศตนเองเป็นเจ้าภาพ

รักบี้

กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาใต้อย่างมากพอๆกับฟุตบอล ทีมชาติแอฟริกาใต้เป็นทีมรักบี้ที่เก่งระดับโลกและมีผู้เล่นมากฝีมือมากมาย เช่น Percy Montgomery นักรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้ที่เกิดในประเทศนามิเบีย

มวยสากล

วัฒนธรรม

เครื่องดนตรีพื้นเมือง

เครื่องดนตรีพื้นเมืองคือวูวูเซลา (อังกฤษ: vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง (บ้างก็บอกว่าคล้ายแมลงหวี่) และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 และฟุตบอลโลก 2010

สื่อสารมวลชน

วันหยุด

หมายเหตุ

  1. อังกฤษ: South Africa
  2. อังกฤษ: Republic of South Africa
  3. เรียกด้วยนามย่อว่า RSA

อ้างอิง

  1. The Constitution of the Republic of South Africa (PDF) (2013 English version ed.). Constitutional Court of South Africa. 2013.
  2. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  3. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cib11
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ safacts
  6. Gloria Galloway, "Chiefs Reflect on Apartheid", The Globe and Mail, 11 December 2013
  7. Beinart, William (2001). Twentieth-century South Africa. Oxford University Press. p. 202. ISBN 978-0-19-289318-5.
  8. "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 13 มกราคม 2561.
  9. "ความสัมพันธ์ไทย-แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 19 พฤศจิกายน 2555.
  10. "ททท.ลุยตลาดแอฟริกาใต้ อัพยอดนักท่องเที่ยวมาไทยปีหน้าพุ่ง". มติชน. 11 เมษายน 2562.
  11. Stats in Brief, 2010 (PDF). Pretoria: Statistics South Africa. 2010. p. 3. ISBN 978-0-621-39563-1.
  12. Mid-year population estimates, 2011 (PDF) (Report). Statistics South Africa. 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
การศึกษา
ข้อมูลทั่วไป
ด้านการท่องเที่ยว