ข้ามไปเนื้อหา

ธงชาติแอฟริกาใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติแอฟริกาใต้
การใช้ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้27 เมษายน พ.ศ. 2537
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยแถบสีเขียวขอบขาวคล้ายอักษร "Y" ในช่องสามเหลี่ยมเป็นพื้นสีดำขอบเหลือง ช่องบนตามยาวพื้นสีแดง ช่องล่างพื้นสีเขียว
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้พ.ศ. 2537
ลักษณะธงพื้นขาวกางเขนเขียว ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นภาพธงชาติ

ธงชาติแอฟริกาใต้ แบบที่ใช้ในปัจจุบัน ได้รับการคัดเลือกจากธงชาติที่ส่งเข้าประกวดมากกว่า 7,000 แบบ และได้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2537 หลังจากได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปและได้มีการยุติการเหยียดสีผิวในประเทศแอฟริกาใต้ในปีนั้น โดยออกแบบขึ้นเพื่อสื่อความหมายถึงชาวแอฟริกาใต้ทุกเชื้อชาติโดยไม่มีการแบ่งแยก ลักษณะของธงนี้เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตอนบนทางด้านปลายธงนั้น เป็นแถบแนวนอนพื้นสีแดงและสีน้ำเงิน แต่ละแถบกว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างธง ทั้งสองสีนี้ถูกแบ่งตามแนวนอนด้วยแนวแถบสีรูปตัววายอักษรโรมัน (Y) ซึ่งเป็นแถบสีเขียวมีขอบสีขาว แถบดังกล่าวนี้ล้อมรูปสามเหลี่ยมสีดำมีขอบสีทองซึ่งอยู่ทางด้านคันธง เมื่อดูภาพโดยรวมแล้ว สัดส่วนของความกว้างแถบริ้วในธง เมื่อวัดจากทางด้านปลายธงจะเป็น 5:1:3:1:5

ธงนี้ นับได้ว่าเป็นธงชาติเพียงธงเดียวที่มีการใช้สีประกอบในธงถึง 6 สี โดยไม่มีสัญลักษณ์หรือลวดลายใดๆ ประกอบ

ประวัติ

ธงเรืออาณานิคม

หลังจากสิ้นสุดสงครามบัวร์ครั้งที่2 (พ.ศ. 2442 - 2445) และ เมื่อ พ.ศ. 2453 ได้รวบรวมดินแดนอาณานิคมต่างๆ เพื่อสถาปนาเป็นสหภาพแอฟริกาใต้ โดยใช้ ธงสหภาพ หรือ ธงยูเนี่ยนแจ็ค เป็นธงชาติสำหรับอาณานิคมในทางนิตินัย เช่นเดียวกับดินแดนอาณานิคมอื่นๆ

ในครั้งนั้นได้มีการกำหนดธงเรือประเภทต่างๆสำหรับใช้ในดินแดนอาณานิคม, โดย ธงเรือแดง สำหรับ กองเรือพาณิชยนาวี และ ธงเรือน้ำเงิน สำหรับ เรือราชการที่สังกัดรัฐบาล, เรือช่วยรบ และ ใช้เป็นธงฉานหน้าหัวเรือรบของกองเรืออาณานิคม[1] [2] โดยให้มีตราอาร์มสหภาพ ที่ปลายธง ธงเรือดังกล่าวได้มีการใช้เป็นธงชาติบนแผ่นดินในทางพฤตินัยแทนธงยูเนี่ยนแจ็ค

พ.ศ. 2471 - 2537

ธงชาติสหภาพแอฟริกาใต้ (ค.ศ. 1928-1994)
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้1928
The three flags in the center, the Union Flag with the hoist on the right

ธงผืนปัจจุบัน

แบบการสร้างธงชาติแอฟริกาใต้ที่ถูกต้อง

ระดับสีธง

Colour Textile colour Pantone equivalent RGB [3] RGB Sample
เขียว CKS 42 c Spectrum green 3415 c #007C59
ดำ CKS 401 c Blue black #000000
ขาว CKS 701 c National flag white #FFFFFF
ทอง CKS 724 c Gold yellow 1235 c #FCB514
แดง CKS 750 c Chilli red 179 c #E23D28
น้ำเงิน CKS 762 c National flag blue Reflex blue c #0C1C8C

ความหมายของสีธง

เมื่อมีการออกแบบธงนี้ใหม่ๆ นั้น ไม่ได้มีการระบุถึงความหมายของสีในธงไว้อย่างเป็นทางการ นอกจากว่าสีที่นำมาใช้ในธง เป็นสีที่เคยใช้ในธงชาติสมัยอดีตมาก่อนเท่านั้น ดังปรากฏว่า

  • ธงของสภาแห่งชาติแอฟริกา (African National Congress) ใช้ธงพื้นสีดำ-เขียว-เหลือง
  • ธงชาติเนเธอร์แลนด์ และ ธงชาติสหราชอาณาจักร (อดีตเจ้าอาณานิคมในแอฟริกาใต้) ใช้ธงที่มีสีแดง-ขาว-น้ำเงิน
  • ธงชาติสหภาพแอฟริกาใต้ยุค พ.ศ. 2471 - 2537 "Prinsevlag" ใช้ธงพื้นสีส้ม (แทนที่สีแดง)-ขาว-น้ำเงิน ภายในมีรูปธงชาติสหราชอาณาจักร และธงดินแดนอื่นๆ ที่รวมเข้ากันเป็นประเทศแอฟริกาใต้ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เฟรเดอริค จี. บราวเนล (Frederick G. Brownell) ผู้ออกแบบธงชาติแอฟริกาใต้แบบปัจจุบัน ได้กล่าวว่า สีแดงในธง หมายถึงเลือดของประชาชนที่หลังไหลออกมา ตลอดการต่อสู้และความขัดแย้งในแอฟริกาใต้ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง

คำอธิบายสีธงชาติแอฟริกาใต้อย่างไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งได้ระบุไว้ว่า แนวแถบคล้ายตัว Y นั้น หมายถึงการรวมชาติให้เป็นเอกภาพ สีน้ำเงินนั้นหมายถึงผืนฟ้าและมหาสมุทรที่โอบล้อมประเทศนี้ไว้ สีเขียวหมายถึงการกสิกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบสำคัญของแอฟริกาใต้ ซึ่งจะขาดไปมิได้ สีเหลืองหมายถึงทรัพยากรแร่ธาตุภายในประเทศและประชาชนเชื้อชาติต่างๆ ในแอฟริกาใต้ และสีขาว หมายถึงสันติภาพและชนผิวขาวในประเทศนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปฏิเสธการนิยามความหมายในเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าว

อ้างอิง

  1. Flags of the World. "South African Vessels Ensign". สืบค้นเมื่อ 2005-03-20. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  2. Volker Preuß. "Südafrika - Großbritannien Flaggensystem eingeführt". สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help) (เยอรมัน)
  3. [Sandaleo http://www.sandaleo.com/pantone.asp]

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA