ข้ามไปเนื้อหา

การขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟกรุงเทพ

การขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2436 โดยเปิดทางรถไฟสายปากน้ำ จากกรุงเทพไปยังสมุทรปราการ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นรถไฟหลวง และเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2439 โดยเปิดเดินรถจากกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นสายแรก และเส้นทางต่อขยายไปยังเชียงใหม่ หนองคาย อุบลราชธานี สุไหงโก-ลก ส่วนรถไฟฟ้าสายแรก คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2542 ตามด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในปี พ.ศ. 2547 และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในปี พ.ศ. 2553

รถไฟทางไกลและรถไฟชานเมือง

[แก้]

กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟกรุงเทพ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟหลัก ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเส้นทาง เดินรถทั้งหมด 5 สาย

  1. สายเหนือ ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทางสถานีรถไฟเชียงใหม่
  2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย คือ
    1. ปลายทางสถานีรถไฟหนองคาย
    2. ปลายทางสถานีรถไฟอุบลราชธานี
  3. สายตะวันออก ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราจะแยกออกเป็น 2 สาย คือ
    1. ปลายทางสถานีรถไฟอรัญประเทศ
    2. ปลายทางสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง
  4. สายใต้ ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพและสถานีรถไฟธนบุรี เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่จะแยกออกเป็น 2 สาย คือ
    1. ปลายทางสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย
    2. ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
  5. สายแม่กลอง ต้นทางสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ปลายทางสถานีรถไฟมหาชัย และจากต้นทางสถานีรถไฟบ้านแหลม ปลายทางสถานีรถไฟแม่กลอง

รถไฟฟ้า

[แก้]

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ภายใต้ โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) (เดิมคือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2541 ให้เร่งดำเนินงาน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (สบน.) ปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครเดิม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์และวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540

สายที่ให้บริการในปัจจุบัน

[แก้]
สาย รูปแบบ เจ้าของ ผู้ให้บริการ สถานีปลายทาง จำนวนสถานี ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จำนวนผู้โดยสาร
ต่อวัน (คน)
ปีที่เปิดให้บริการ (พ.ศ.)
ส่วนแรก ส่วนต่อขยาย
ล่าสุด
รถไฟฟ้าบีทีเอส (3 สาย) 63[ก] 70.05 745,074
สายสุขุมวิท ระบบขนส่งมวลชนเร็ว กทม. เคที / บีทีเอสซี คูคตเคหะฯ 47 53.58 รวมกัน
737,432
2542 2563
สายสีลม สนามกีฬาแห่งชาติบางหว้า 14 14.67 2564
สายสีทอง ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ กรุงธนบุรีคลองสาน 3 1.80 7,642 2564
รถไฟฟ้ามหานคร (4 สาย) 106[ข] 136.5 589,699
สายสีน้ำเงิน ระบบขนส่งมวลชนเร็ว รฟม. บีอีเอ็ม ท่าพระศูนย์วัฒนธรรมฯหลักสอง 38[ข] 48 424,120 2547 2562
สายสีม่วง คลองบางไผ่เตาปูน 16 23.6 69,874 2559
สายสีชมพู รถไฟรางเดี่ยว เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี ศูนย์ราชการนนทบุรีมีนบุรี 30 34.5 57,638 2567
สายสีเหลือง อีบีเอ็ม / บีทีเอสซี ลาดพร้าวสำโรง 23 30.4 38,067 2566
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (1 สาย) 8 28.6 64,903
สายซิตี้ รถไฟชานเมือง (รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน) รฟท. เอฟเอส / เอราวัน สุวรรณภูมิพญาไท 8 28.6 64,903 2553
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง (2 สาย) 13[ค] 41.0 31,704
สายสีแดงเข้ม รถไฟชานเมือง รฟท. รฟฟท. (ชั่วคราว) กรุงเทพอภิวัฒน์รังสิต 10 26 รวมกัน
31,704
2564
สายสีแดงอ่อน กรุงเทพอภิวัฒน์ตลิ่งชัน 4 15
รวมทั้งหมด (10 สาย) 190 276.15 1,431,380[1]
หมายเหตุ
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (สยาม) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีกรุงธนบุรี
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน/ท่าพระ) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีลาดพร้าว และศูนย์ราชการนนทบุรี
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) เป็นสถานีเดียว

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งทางราง ประจำเดือนกรกฎาคม 2567". กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 2024-08-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)