ข้ามไปเนื้อหา

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

พิกัด: 13°44′32.4018″N 100°29′56.8998″E / 13.742333833°N 100.499138833°E / 13.742333833; 100.499138833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

13°44′32.4018″N 100°29′56.8998″E / 13.742333833°N 100.499138833°E / 13.742333833; 100.499138833

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

พระอุโบสถและพระปรางค์วัดราชบุรณราชวรวิหาร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเลียบ
ที่ตั้งแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นโท
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธมหาราช
เจ้าอาวาสพระธรรมวชิรนายก (ปรีชา อภิวณฺโณ)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดราชบุรณราชวรวิหาร
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000043
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐาน

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ"

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และโรงไฟฟ้าวัดเลียบ (ปัจจุบันคือการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ) สถานที่สำคัญต่าง ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด เหลือแต่พระปรางค์องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถเพียงองค์เดียว[1] จนต้องประกาศยุบวัดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488

ต่อมาใน พ.ศ. 2491 ผู้มีศรัทธาได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์จนตั้งเป็นวัดได้ตามเดิมในปีเดียวกัน ก่อนจะได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513[2]

ทำเนียบเจ้าอาวาส

[แก้]

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหาร อดีตถึงปัจจุบัน เท่าที่พบข้อมูล[3][4][5]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระพรหมมุนี - - เจ้าอาวาส, เดิมเป็นพระญาณไตรโลก สมัยกรุงธนบุรี
2 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) พ.ศ. 2334 พ.ศ. 2359 เจ้าอาวาส, ย้ายไปประทับ ณ วัดมหาธาตุฯ
3 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2392 เจ้าอาวาส, สิ้นพระชนม์
4 พระธรรมวโรดม (สมบุญ, สมบูรณ์) ป.ธ.4 พ.ศ. 2397 พ.ศ. 2415 เจ้าอาวาส, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ
5 พระธรรมภาณพิลาศ (ผ่อง) ป.ธ.8 พ.ศ. 2415 พ.ศ. 2421 เจ้าอาวาส, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส
6 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป) ป.ธ.7 พ.ศ. 2421 พ.ศ. 2446 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
7 พระราชโมลี (แจ่ม โกวิทญาโณ) ป.ธ.6 พ.ศ. 2446 พ.ศ. 2448 เจ้าอาวาส, ภายหลังลาสิกขา
8 พระธรรมดิลก (อิ่ม จนฺทสิริ) ป.ธ.4 พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2466 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
9 พระราชโมลี (ช้อน โสณุตฺตโร) ป.ธ.6 พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2468 เจ้าอาวาส, ถูกถอดสมณศักดิ์, ลาสิกขา
10 พระธรรมดิลก (โสม ฉนฺโน) ป.ธ.5 พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2488 เจ้าอาวาส, ยุบเลิกวัด, ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
11 พระราชพฤฒาจารย์ (เชียง อินฺทโชโต) พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2499 รักษาการ
พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2535 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
12 พระศรีวิสุทธิโมลี (ชุบ มหาวีโร) ป.ธ.9 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2539 รักษาการ
13 พระธรรมวชิรนายก (ปรีชา อภิวณฺโณ) ป.ธ.9 พ.ศ. 2540 - เจ้าอาวาส, ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สุดยอดงานศิลปะในวัดหลวง 11 แห่งใจกลางพระนครที่เป็นเหมือน Art Gallery ชั้นดี". เดอะคลาวด์.
  2. "วัดราชบุรณะ". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  3. คณะศิษย์. (2522). ความเป็นมาของวัดราชบุรณะราชวรวิหาร คณะศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์ถวายพระคุณาจารวัตร. กรุงเทพฯ: ทวีพิมพ์ดี.
  4. ฐานเศรษฐกิจ, วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ เคยเป็นที่ประทับสังฆราชถึง 2 พระองค์, 20 เมษายน 2567
  5. พระครูสิริวรรณวิวัฒน์. (2535). ประวัติการพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]